ผู้เขียน หัวข้อ: แบตเตอรี่ Lithium-ion ราคาถูกลง ต้นเหตุที่ทำรถไฟฟ้าลดราคาลง?  (อ่าน 329 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

Hugball

  • Global Moderator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 7263
  • เพศ: ชาย
    • www.hugball.net


ท่ามกลางดราม่าการลดราคาของรถไฟฟ้า พร้อมกับวลีที่ว่า “ซื้อก่อน ประหยัดก่อน ซื้อทีหลัง ประหยัดกว่า” ทำให้สังคมออนไลน์มีเสียงแตกกันไปเป็น 2 ด้าน



ด้านหนึ่งบอกว่า การลดราคาของค่ายรถไฟฟ้า เหมือนการหักหลังคนที่เพิ่งซื้อไปไม่นาน ในขณะที่อีกด้านก็บอกว่า เขาลดราคาก็ดีแล้ว ดีต่อผู้บริโภค แต่บทความนี้ ไม่ได้จะมาบอกว่าใครผิดหรือใครถูก แต่จะมาลองวิเคราะห์ว่า หลักใหญ่ที่พูดถึงกันว่า ที่ลดราคาลงมาได้เพราะค่าแบตเตอรี่ถูกลง เป็นเรื่องจริงไหม ลองมาดูกัน



รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ ใช้งานแบตเตอรี่แบบ Lithium-ion เป็นส่วนใหญ่ แต่รูปแบบของตัวแบตเตอรี่อาจจะแตกต่างกันไป เช่นของ BYD นั้น จะใช้งานแบบ Blade-Battery ที่คิดค้นและผลิตด้วยตัวของ BYD เอง แต่ส่วนใหญ่แล้ว สัดส่วนก็จะยังอยู่ในประมาณเดียวกับของค่ายอื่น ๆ ซึ่งส่วนประกอบหลักที่เป็นแร่ธาตุ ก็อยู่ประมาณนี้

ลิเธียม (Lithium): ประมาณ 6-7%
นิกเกิล (Nickel): ประมาณ 50-80%
โคบอลต์ (Cobalt): ประมาณ 10-20%
แมงกานีส (Manganese): ประมาณ 10-30%
กราไฟต์ (Graphite): ใช้ในแอโนด ประมาณ 20-30%
สัดส่วนนี้ เป็นสัดส่วนโดยประมาณ ซึ่งถ้าเราลองไปดูกราฟย้อนหลัง ในแร่แต่ละตัว จะออกมาดังนี้





จากชาร์ตนี้ เราจะเห็นได้เลยว่า แร่ธาตุอย่าง Lithium carbonate ที่เป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ประมาณ 6-7% จะลดลงมาอย่างมาก โดยในช่วงที่ตลาดของรถยนต์ไฟฟ้ากำลังบูมสูงสุดช่วงปี 2022 ราคาจะอยู่ที่ราว 94.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ (3,470 บาท) / กิโลกรัม (ใช้ราคาจากประเทศจีนเป็นหลัก เพราะรถไฟฟ้าที่จำหน่ายในประเทศไทย มาจากประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่) แต่เดือนนี้ราคาร่วงอย่างหนัก เหลือเพียงแค่ 18.42 ดอลลาร์สหรัฐฯ (675 บาท)/ กิโลกรัมเท่านั้น

แต่แร่ธาตุที่มีสัดส่วนมากที่สุดอย่าง Nickel นั้น จะมีราคาเท่าไหร่บ้าง ลองมาดูได้ตามชาร์ตนี้





เห็นได้ชัดเจนว่า ราคา Nickel ในช่วงปี 2022 ราคาดีดไปสูงสุดที่ 29.68 ดอลลาร์สหรัฐฯ (1,088 บาท) / กิโลกรัม แต่ราคาเดือนล่าสุดนี้ในตลาดประเทศจีน ลงลงเหลือเพียง 20.35 ดอลลาร์สหรัฐฯ (746 บาท) / กิโลกรัมเท่านั้น
และแร่ธาตุอื่น ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของแบตเตอรี่ Lithium-ion ที่เหลือนั้น ก็จะประมาณนี้

Cobalt จาก 3.19 ดอลลาร์สหรัฐฯ / กิโลกรัม เหลือ 1.08 ดอลลาร์สหรัฐฯ / กิโลกรัม
Manganese จาก 5.55 ดอลลาร์สหรัฐฯ / กิโลกรัม เหลือ 2.69 ดอลลาร์สหรัฐฯ / กิโลกรัม
Graphite (ไม่มีข้อมูล)
ข้อมูลจาก https://businessanalytiq.com/index/



ถ้าดูต้นทุนในการผลิต จะเห็นได้เลยว่า มีอัตราที่ลดลงเป็นอย่างมาก ต่อเนื่องทุกปี  ทำให้ราคาที่ถูกผลิตออกมาเป็น Pack ที่ติดตั้งลงบนรถยนต์ไฟฟ้า ถูกลงอย่างต่อเนื่องทุกปี ยกเว้นปีเดียวก็คือ 2022 ที่ราคาดีดขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับที่ราคาของแร่ธาตุที่เป็นสารส่วนประกอบนั้น ราคาขึ้นแบบทั้งแผง เพราะเป็นช่วงที่รถไฟฟ้าจากจีน กำลังบูมสุด ๆ ไปทั่วโลกนั่นเอง ถ้าเปรียบเทียบดูแล้ว ปี 2022 ค่าเฉลี่ยของแบตเตอรี่ Lithium-ion นั้น จะอยู่ที่ 161 ดอลลาร์สหรัฐฯ / KWh. (5,900 บาท) และปี 2023 เหลือเพียง 139 ดอลลาร์สหรัฐฯ / KWh. (5,100 บาท) เท่านั้น และแน่นอนว่า ในช่วงตลาดรถไฟฟ้าเริ่มอิ่มตัวบ้างแล้วช่วงปีนี้ ตัวค่าเฉลี่ยก็คงต้องถูกลงอีก
ข้อมูลจาก https://about.bnef.com/blog/lithium-ion-battery-pack-prices-hit-record-low-of-139-kwh/



ซึ่งถ้าเราไปดูสัดส่วนของต้นทุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า 1 คัน จะถูกแบ่งเป็นแบตเตอรี่ Lithium-ion มากถึง 20-40% เลยทีเดียว นั่นหมายความว่า เมื่อราคาของตัวแบตเตอรี่เริ่มขยับลง ย่อมส่งผลให้ราคาของตัวต้นทุนการผลิตขึ้นมาเป็นรถใหม่ 1 คันนั้น ก็ต้องลดลงตามไปด้วยอย่างมีนัยยะ



แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เหมือนกันว่า ก่อนหน้านี้ในช่วงที่ตลาดรถไฟฟ้าในประเทศไทย คู่แข่งในตลาดอาจจะยังไม่มากเท่าปัจจุบันนี้ กลยุทธในการตั้งราคา ก็อาจจะสามารถตั้งให้สูงเพื่อผลกำไรที่มากขึ้นก็ทำได้ง่ายกว่าปัจจุบัน ที่มีค่ายรถยนต์ไฟฟ้าผุดขึ้นมากันแบบแทบจะเพิ่ม 2-3 ยี่ห้อ/ปีเลยทีเดียว และค่ายมาใหม่ก็เลือกที่จะเอาวิธีการสู้ด้วยการเอาเรื่องราคาเป็นตัวนำ ก็อาจจะเป็นสาเหตุหลักในการช่วงชิงการลดราคามาสู้ได้ด้วยเช่นกัน



 
Share this topic...
In a forum
(BBCode)
In a site/blog
(HTML)


Sitemap 1 2 3 4 5 6